IUI

บริการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination)

ติดต่อเรา

บริการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination)

เพราะหนึ่งในสาเหตุของปัญหาการมีบุตรยาก อาจเกิดจากการที่ตัวอสุจิไม่สามารถว่ายไปถึงไข่ได้ การทำ IUI จึงทำให้เชื้ออสุจิมีโอกาสเข้าไปผสมกับไข่ได้มากขึ้น

คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก IVF & Women Clinic (IWC) บริการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) เพื่อรักษาภาวะมีบุตรยากและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ สะดวก ปลอดภัย ใช้เวลาน้อย ไม่ยุ่งยาก ไม่เจ็บตัว ภาวะแทรกซ้อนต่ำ ทุกขั้นตอนดูแลอย่างใกล้ชิดโดยทีมแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์เจริญพันธุ์ที่มีประสบการณ์ในการรักษาผู้มีบุตรยากในโรงพยาบาลชั้นนำของประเทศ พร้อมให้คำปรึกษา รับฟังความต้องการ และวางแผนการรักษาให้เหมาะสมที่สุดกับท่าน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ได้มาตรฐานทั้งทางด้านการวินิจฉัยและการรักษาจนประสบความสำเร็จในการตั้งครรภ์และถึงวันที่ลูกน้อยลืมตาดูโลกเพื่อเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กับครอบครัว

บริการฉีดเชื้อผสมเทียม
(IUI: Intra – Uterine Insemination) คืออะไร 

การฉีดเชื้อผสมเทียม (Intra – Uterine Insemination) หรือ IUI คือ เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์โดยการฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการคัดเลือกว่ามีความสมบูรณ์ แข็งแรง และเคลื่อนตัวได้ดีที่สุดเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในวันที่ไข่ตกพอดี โดยการทำ IUI จะเป็นการเก็บและคัดเลือกเชื้ออสุจิจากฝ่ายชายเพื่อฉีดเข้าสู่มดลูกของฝ่ายหญิงด้วยสายสวนผ่านทางปากมดลูกแล้วฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกเพื่อช่วยลดอัตราการตายของตัวอสุจิ ทำให้อสุจิเข้าถึงท่อนำไข่และผสมกับไข่ได้มากขึ้น การทำ IUI จึงถือเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากที่ง่ายที่สุด และช่วยให้อสุจิสามารถผสมกับไข่ได้มากกว่าการผสมเองตามธรรมชาติ

ขั้นตอนการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination)

ก่อนเริ่มฉีดเชื้อผสมเทียม
(IUI: Intra – Uterine Insemination)

 1. เตรียมตัว

ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายเข้ารับการตรวจสุขภาพร่างกาย และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เตรียมสภาพจิตใจให้พร้อมสำหรับการทำ IUI

 2. ติดตามการตกไข่

แพทย์ติดตามการตกไข่ของฝ่ายหญิง โดยใช้ชุดตรวจฮอร์โมน LH หรือ อัลตราซาวด์

3. กระตุ้นรังไข่

แพทย์พิจารณาให้ยากระตุ้นรังไข่เพื่อเพิ่มจำนวนไข่ที่สมบูรณ์ เมื่อได้ฟองไข่ตามต้องการแล้วจึงฉีดยาให้ไข่ตก และนัดหมายวันทำ IUI

4. เก็บอสุจิ

ฝ่ายชายเก็บตัวอย่างอสุจิ ณ วันที่เข้ารับบริการฉีดเชื้อ

5. เตรียมเชื้ออสุจิ

นักวิทยาศาสตร์เตรียมเชื้ออสุจิโดยคัดเลือกอสุจิที่แข็งแรง สมบูรณ์ และเคลื่อนตัวได้ดี

ระหว่างฉีดเชื้อผสมเทียม
 (IUI)

6. ฉีดเชื้ออสุจิ

แพทย์ฉีดเชื้ออสุจิที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่โพรงมดลูกโดยใช้สายสวนสอดผ่านปากมดลูก

หลังฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) 

7. รอผลการตั้งครรภ์

รอประมาณ 2 สัปดาห์ เพื่อตรวจว่าตั้งครรภ์หรือไม่

โอกาสความสำเร็จของการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) 

โอกาสความสำเร็จของ IUI

10 - 15 %

IUI คือ หนึ่งในวิธีรักษาภาวะมีบุตรยากที่มีความสะดวก ใช้เวลาน้อย และไม่เจ็บตัวเมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ จึงถือเป็นวิธีเริ่มต้นในการเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม การทำ IUI ให้ประสบความสำเร็จจนนำไปสู่การตั้งครรภ์นั้นจำเป็นต้องอาศัยความสมบูรณ์ของไข่ รังไข่ และมดลูกของฝ่ายหญิง รวมถึงคุณภาพอสุจิของฝ่ายชาย โดยฝ่ายชายควรมีตัวอสุจิที่แข็งแรงหลังการผ่านการคัดกรองแล้ว 1 ล้านตัวขึ้นไป โดยทั่วไปแล้ว อัตราความสำเร็จของการทำ IUI อยู่ที่ประมาณ 10-15% แม้อัตราการตั้งครรภ์จะน้อยกว่าการทำเด็กหลอดแก้ว IVF หรือ ICSI แต่การทำ IUI ก็มีขั้นตอนที่น้อยกว่าและมีค่าบริการต่ำกว่าด้วยเช่นกัน

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) 

อัตราความสำเร็จในการทำ IUI จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยต่าง ๆ ทั้งจากฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย ได้แก่

ฝ่ายชาย

มีเชื้ออสุจิปกติ เช่น มีความแข็งแรง สมบูรณ์ รูปร่างปกติ หรือเชื้ออสุจิผิดปกติเพียงเล็กน้อย ต้องมีปริมาณตัวอสุจิมากพอหลังผ่านการคัดกรอง โดยควรมีตัวอสุจิที่แข็งแรง 1 ล้านตัวขึ้นไป 

ฝ่ายหญิง

มีท่อนำไข่ที่ปกติ ไม่ตัน หากมีท่อนำไข่ที่ปกติเพียงข้างเดียว โอกาสสำเร็จอาจน้อยลงตามลำดับ เพราะไข่อาจตกในท่อนำไข่ข้างที่ตัน ทำให้ไม่สามารถตกเข้าท่อนำไข่และปฏิสนธิได้

ฝ่ายหญิง

อายุต้องไม่มากจนเกินไป หากฝ่ายหญิงมีอายุมาก โอกาสในการตั้งครรภ์ก็น้อยลง เนื่องจากอายุที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางโครโมโซมของเซลล์ไข่ ทำให้อัตราปฏิสนธิลดลง แบ่งเซลล์ได้ไม่สมบูรณ์ เกิดท้องลม หรือได้เป็นตัวอ่อนที่มีความผิดปกติทางโครโมโซม

ฝ่ายหญิง

ไม่มีปัญหาปากมดลูกผิดปกติรุนแรง เช่น ปากมดลูกตีบหรือเคยเข้ารับการผ่าตัดปากมดลูกมาก่อน เพราะจะส่งผลให้ฉีดเชื้ออสุจิเข้าได้ยากหรือไม่เข้าเลย รวมถึงทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บมากขณะฉีด

ฝ่ายหญิง

ไม่มีพยาธิสภาพในมดลูก เช่น เนื้องอกมดลูกขนาดใหญ่ หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกอย่างรุนแรง ซึ่งปัญหาเหล่านี้อาจขัดขวางการฉีดเชื้อ IUI และการปฏิสนธิได้

ฝ่ายหญิง

ความหนาและความเรียบของเยื่อบุโพรงมดลูกปกติ มดลูกที่พร้อมรับการฝังตัวของตัวอ่อนนั้นต้องเป็นมดลูกที่มีผนังมดลูกที่หนาพอ ใสเป็นวุ้น เรียงสวย และมดลูกต้องอุ่น ไม่เย็น 

ข้อควรปฏิบัติหลังจากฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) 

การทำ IUI คือ การรักษาภาวะมีบุตรยากด้วยการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากฝ่ายหญิงอย่างมาก ผู้เข้ารับการรักษาด้วยการทำ IUI จึงควรดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดโดยเฉพาะในช่วงวันแรก ๆ เพื่อช่วยให้อสุจิเคลื่อนที่เข้าไปที่ท่อนำไข่ได้ดีขึ้นและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ เช่น

หลังทำ IUI ฝ่ายหญิงควรนอนพักนิ่ง ๆ บนเตียงประมาณ 30 นาทีเพื่อให้อสุจิเดินทางไปถึงไข่ได้ง่ายขึ้น

งดการมีเพศสัมพันธ์ในช่วง 1-2 วันแรกหลังทำ IUI เพื่อไม่ให้มดลูกถูกรบกวน และทำให้ตัวอ่อนฝังตัวได้ดีขึ้น 

หลังจากทำ IUI ได้ 2-3 วัน แพทย์มักจะแนะนำให้ผู้ใช้บริการมีเพศสัมพันธ์ซ้ำเพื่อให้มีเชื้ออสุจิเข้าไปในโพรงมดลูกมากและเพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์

งดทำงานหนัก ยกของหนัก หรือออกกำลังกายอย่างหักโหม รวมถึงประเภทที่ต้องมีการเกร็งหน้าท้อง เพราะอาจเสี่ยงต่อการแท้งจากการเกร็งตัวของมดลูก

หลีกเลี่ยงการขับรถหรือเดินทางไกล เพราะอาจทำให้มดลูกบีบตัวและส่งผลกระทบต่อกระบวนการฝังตัวอ่อน และเพื่อลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน 

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นรับประทานอาหารที่มีเส้นใยและย่อยง่าย หลีกเลี่ยงอาหารดิบ หรือกึ่งสุกกึ่งดิบ ยำ ส้มตำ ของดอง หรืออาหารทะเล เพราะหากเกิดท้องผูกหรือท้องเสียจะส่งผลต่อการเกร็งหน้าท้อง

รักษาสุขภาพให้แข็งแรง นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำใจให้สบาย ไม่เครียด

งดใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารเคมีทุกชนิด เช่น น้ำหอม เครื่องสำอาง สเปรย์ฉีดผม น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาถูพื้น สเปรย์ฉีดยุง หากจำเป็น ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็กหรือสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

หากมีอาการเจ็บป่วยหรือมีอาการผิดปกติใด ๆ หลีกเลี่ยงการซื้อยามารับประทานเอง ควรปรึกษาแพทย์ทันที 

ใครบ้างที่เหมาะกับการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) 

ฝ่ายชาย:

  • มีปัญหาสมรรถภาพทางเพศ หลั่งเร็ว
  • มีปัญหาการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพและปริมาณอสุจิ เช่น ความเข้มข้นน้อย ปริมาณอสุจิน้อย อสุจิมีไม่แข็งแรงหรือเคลื่อนที่ได้ไม่ดีพอ

ฝ่ายหญิง:

  • มีภาวะมีบุตรยาก เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ มีปัญหาการตกไข่
  • มีปัญหาเกี่ยวกับอุ้งเชิงกราน เช่น ปากมดลูกหรือคอมดลูกตีบ แต่ไม่รุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้อสุจิเคลื่อนที่เข้าโพรงมดลูกได้ยาก
  • มีภาวะไข่ไม่ตกเรื้อรังจากความผิดปกติต่าง ๆ เช่น กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)
  • มีภาวะแพ้น้ำเชื้อ ทำให้ช่องคลอดแดงหรือระคายเคืองเมื่อสัมผัสน้ำเชื้อ
  • ต้องการตั้งครรภ์ด้วยน้ำเชื้อที่แช่แข็งไว้ (Freezing Sperm)

ข้อดีของการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination)

IUI คือ วิธีแก้ปัญหามีบุตรยากเบื้องต้นที่มีความใกล้เคียงกับวิธีตามธรรมชาติมากที่สุด ไม่ยุ่งยาก ไม่ซับซ้อน และไม่เจ็บตัวเท่ากับวิธีอื่น
สามารถทำได้ทุกรอบเดือนและมีราคาไม่สูง 
ช่วยกำหนดช่วงเวลาที่จะตั้งครรภ์ได้ สามารถตั้งครรภ์และมีลูกได้เมื่อพร้อมและถึงเวลาที่เหมาะสม
ไม่มีการผ่าตัด เป็นเพียงการฉีดอสุจิจากฝ่ายชายเข้าสู่มดลูกของฝ่ายหญิง หลังทำ IUI ไม่ต้องพักฟื้น 

ราคาค่าบริการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ราคาค่าบริการฉีดเชื้อผสมเทียม (IUI: Intra – Uterine Insemination) มีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ค่าใช้จ่ายในการทำ IUI จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละคลินิก โดยทั่วไปแล้ว ค่าใช้จ่ายจะอยู่ที่ประมาณ 10,000-20,000 บาทเท่านั้น

ข้อแตกต่างของการทำ IUI และ GIFT

การฉีดน้ำเชื้อ IUI คือ วิธีเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์โดยการนำอสุจิจากฝ่ายชายมาผ่านขบวนการคัดเลือกและฉีดเข้าสู่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงในช่วงเวลาที่ไข่ตกในปริมาณที่พอเหมาะ แต่การทำกิฟต์ GIFT คือ การดูดเอาไข่ที่ถูกกระตุ้นออกมาจากรังไข่ของฝ่ายหญิงผ่านทางหน้าท้อง แล้วนำมาผสมกับตัวอสุจิที่ผ่านการคัดเลือก จากนั้นจึงนำกลับเข้าไปในท่อนำไข่เพื่อให้เกิดการปฏิสนธิตามธรรมชาติ ดังนั้น ผู้เข้ารับการรักษาด้วยการทำ GIFT จึงต้องเข้าห้องผ่าตัด มีการใช้ยาสลบ มีการกรีดแผลเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง และต้องนอนพักฟื้น 1 คืน ในขณะที่การฉีดเชื้อ IUI จะเป็นเทคนิคใหม่ที่ไม่เจ็บตัว พักฟื้นแค่ 1-2 ชั่วโมงก็กลับบ้านได้

ข้อแตกต่างของการทำ IUI และ IVF

การทำเด็กหลอดแก้ว IVF คือ การผสมไข่และอสุจิในจานเพาะเลี้ยง โดยปล่อยให้อสุจิเข้าผสมกับไข่เองตามธรรมชาติ และเพาะเลี้ยงตัวอ่อนในห้องปฏิบัติการ ก่อนย้ายตัวอ่อนกลับเข้าสู่โพรงมดลูก ซึ่งถือเป็นการปฏิสนธิภายนอกร่างกาย ส่วนการทำ IUI คือ การฉีดเชื้อผสมเทียมเข้าไปในโพรงมดลูกโดยตรงเพื่อให้อสุจิเข้าถึงท่อนำไข่เพื่อผสมกับไข่ได้มากขึ้น
ถือเป็นวิธีการปฏิสนธิในร่างกาย ลดอัตราการตายของตัวอสุจิ
และเพิ่มอัตราการตั้งครรภ์เช่นเดียวกับการทำ IVF ต่างกันตรงที่ IUI เป็นวิธีที่มีความซับซ้อนน้อยกว่า ใช้เวลาน้อยกว่า เจ็บตัวน้อยกว่า
และมีค่าบริการต่ำกว่า

ข้อแตกต่างของการทำ IUI และ ICSI

การทำ ICSI คือ เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ที่เริ่มจากการกระตุ้นไข่และเก็บออกมาจำนวนหลายใบ เพื่อนำไข่และเชื้ออสุจิมาปฏิสนธิภายนอกร่างกาย มีการคัดเลือกอสุจิและไข่ที่ดีที่สุดมาผสมกัน โดยการฉีดอสุจิเข้าไปในไข่โดยตรง หลังจากนั้นจึงเพาะเลี้ยงให้เป็นตัวอ่อนและฉีดกลับเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อให้ตัวอ่อนฝังตัวที่มดลูก เป็นการสร้างโอกาสให้อสุจิได้ผสมกับไข่ได้ง่ายกว่าปกติ ส่วนการทำ IUI คือ เทคโนโลยีเพื่อการเจริญพันธุ์ที่มีการปฏิสนธิในร่างกายให้ไข่กับอสุจิผสมกันเองตามธรรมชาติ เริ่มต้นจากการกระตุ้นการตกไข่ จากนั้นจึงฉีดอสุจิที่เตรียมจากห้องปฏิบัติการและผ่านการคัดเลือกคุณภาพเข้าสู่โพรงมดลูกในวันที่ฝ่ายหญิงมีการตกไข่และปล่อยให้อสุจิกับไข่ปฏิสนธิกันเอง

คำถามที่พบบ่อย

ข้อแตกต่างของการทำ IUI และ ICSI

  • Q: การทำ IUI เจ็บหรือไม่?

    A: การทำ IUI โดยทั่วไปจะไม่เจ็บเท่ากับวิธีรักษาอื่น ๆ แต่ผู้เข้ารับบริการอาจรู้สึกอึดอัดหรือรู้สึกปวดบีบเล็กน้อยระหว่างขั้นตอนการฉีดเชื้อผสมเทียม IUI ที่มีการใช้สายสวน หรืออาจมีอาการระคายเคืองบริเวณช่วงคลอด แต่ส่วนใหญ่มักเกิดความรู้สึกไม่สบายตัวน้อยมาก

  • Q: การทำ IUI ใช้เวลานานแค่ไหน?

    A: การทำ IUI ใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที และหลังทำ IUI ฝ่ายหญิงควรนอนพักนิ่ง ๆ บนเตียงประมาณ 30 นาทีเพื่อให้อสุจิเดินทางไปถึงไข่ได้ง่ายขึ้น จากนั้นสามารถกลับบ้านและใช้ชีวิตได้ตามปกติ

  • Q: การทำ IUI มีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

    A: ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากการทำ IUI คือ อาการปวดท้อง ท้องอืด กดเจ็บที่บริเวณช่องท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นผลจากการที่ร่างกายตอบสนองต่อยากระตุ้นมากเกินไป (OHSS: Ovarian Hyperstimulation Syndrome) ในกรณีที่ฝ่ายหญิงต้องใช้ยาหรือฉีดยาเพื่อกระตุ้นไข่ รวมถึงอาการคล้ายกับคนตั้งครรภ์ เช่น ปวดเกร็งท้องน้อย เต้านมคัด ปวดเมื่อยตามร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจพบอาการนอนไม่หลับเนื่องจากความวิตกกังวลของผู้เข้ารับบริการได้บ้าง แต่อาการเหล่านี้จะหายไปเองและไม่มีผลข้างเคียงในระยะยาว

  • Q: การทำ IUI ปลอดภัยหรือไม่?

    A: การทำ IUI เป็นวิธีการที่ปลอดภัย ลดความเสี่ยงและการติดเชื้อจากการผ่าตัด แต่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ้าง เช่น การตั้งครรภ์แฝด มีเลือดออกหรือติดเชื้อหลังการทำ IUI ซึ่งพบได้น้อยมาก รวมถึงการตั้งครรภ์แฝดที่มักจะเสี่ยงต่อการแท้งลูก คลอดก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

  • Q: การทำ IUI มีข้อจำกัดหรือไม่

    A: การทำ IUI มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่น ไม่เหมาะกับฝ่ายหญิงที่มีการตัดต่อนำรังไข่ทั้ง 2 ข้าง หรือทำการผูกท่อนำรังไข่ทั้ง 2 ข้างแล้ว มีการอักเสบหรือติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน รวมถึงมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ขั้นรุนแรง

  • Q: ภาวะแทรกซ้อนของการทำ IUI มีอะไรบ้าง

    A: อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ้างจากการทำ IUI ได้แก่ อาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องบวม คลื่นไส้ อาเจียน ปัสสาวะออกน้อยลง หายใจไม่อิ่ม หายใจลำบาก มีเลือดออกจากอวัยวะเพศ การอักเสบ การติดเชื้อ หรือฟกช้ำ รวมถึงภาวะแทรกซ้อนจากการกระตุ้นรังไข่ เช่น ภาวะรังไข่โต ภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นเกินขนาด (OHSS) หรือเกิดการติดเชื้อจากการฉีดอสุจิ แต่ปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันได้ด้วยการเลือกใช้บริการกับคลินิกที่ได้มาตรฐาน มีความปลอดภัย และดำเนินการโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้น