รู้จัก ภาวะไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์ ลดภาวะความผิดปกติของลูกได้
อ่านให้จบ ถ้าคุณกำลังวางแผนที่จะมีลูก!! รู้ทัน “ภาวะไทรอยด์ขณะตั้งครรภ์” ช่วยลดภาวะความผิดปกติของลูกรักได้
ไทรอยด์เป็นต่อมชนิดหนึ่งมีหน้าที่ผลิต “ฮอร์โมนไทรอยด์” ซึ่งโดยปกติแล้วการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ของทารกในครรภ์จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ
ก่อนสัปดาห์ที่ 12 ทารกต้องอาศัยฮอร์โมนไทรอยด์จากคุณแม่
หลังจากสัปดาห์ที่ 12 ทารกจึงจะสามารถสร้างฮอร์โมนไทรอยด์เองได้
ดังนั้น คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรได้รับไอโอดีนที่เพียงพอ เพื่อสร้างฮอร์โมนไทรอยด์สำหรับทารกในครรภ์ ซึ่งฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญต่อทารกตั้งแต่อยู่ในท้องคุณแม่เลย โดยเฉพาะเรื่องของพัฒนาการทางสมอง
ฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญต่อสมองของทารกอย่างไร ?
ทำให้ระบบประสาททำงานปกติ
ป้องกันการเกิดโรคเอ๋อหรือภาวะปัญญาอ่อน
ทำหน้าที่เผาผลาญพลังงานเพื่อให้อวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้เป็นปกติ
ฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์อย่างไร ?
ช่วยลดภาวะการแท้งบุตร
ลดความเสี่ยงครรภ์เป็นพิษ
ลดภาวะน้ำหนักตัวของทารกน้อยกว่าปกติ
ลดความผิดปกติทางสมองของทารก
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วฮอร์โมนไทรอยด์จะส่งผลกระทบต่อคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ 2 กรณี ดังนี้
ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (Thyrotoxicosis)
ฮอร์โมนที่สูงเกินไป ส่งผลต่อทารกทำให้ชีพจรเต้นเร็ว ขนาดตัวเล็ก และแท้งง่าย
ภูมิคุ้มกันต่อตัวรับ TSH (TRAb) ในโรคไทรอยด์ของแม่ที่มีระดับสูง ๆ จะส่งผ่านรกไปกระตุ้นต่อมไทรอยด์ของทารกในครรภ์ ทำให้ต่อมไทรอยด์ของทารกทำงานผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์หรือหลังคลอดได้
ในรายที่ควบคุมโรคได้ไม่ดี อาจเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ การแท้ง การคลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักน้อย หรือเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้
ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ (Hypothyroidism)
เนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์มีความสำคัญในการพัฒนาสมองของทารก การขาดฮอร์โมนตั้งแต่อยู่ในครรภ์นั้นจะส่งผลให้ระบบประสาท สมอง และความจำมีความผิดปกติ
สำหรับผลกระทบต่อคุณแม่ อาจทำให้เกิดภาวะซีด แท้ง คลอดก่อนกำหนด รกลอกตัวก่อนกำหนด หรือครรภ์เป็นพิษได้
และส่วนใหญ่เพศหญิงที่มีภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำจะมีผลต่อการเจริญพันธุ์ ทำให้มีบุตรยาก หรือมีภาวะแท้งตั้งแต่อายุครรภ์ยังน้อยร่วมด้วย
ใครที่อยากมีลูก แต่เป็นโรคไทรอยด์อยู่ก็สามารถท้องได้นะคะ ซึ่งควรปรึกษากับทีมแพทย์เฉพาะทาง เพื่อประเมินการทำงานของต่อมไทรอยด์ และ “การวางแผนก่อนการตั้งครรภ์” จะสามารถลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ รวมถึงตัวคุณแม่ด้วยค่ะ การตรวจวิเคราะห์อย่างละเอียด ดูแลอย่างต่อเนื่อง และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โอกาสเกิดผลแทรกซ้อนกับทารกก็จะน้อยมากค่ะ
ท่านใดที่มีภาวะเสี่ยงไทรอยด์ทำงานผิดปกติ สามารถทักแชท และโทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม หรือนัดหมายเวลาเข้าปรึกษากับทีมแพทย์เฉพาะทางได้เลยค่ะ
IVF Clinic
ข่าวล่าสุด