คุณแม่ช่วงอายุ 35-49 ปี เสี่ยง!! ตั้งครรภ์ทารกเป็นดาวน์ซินโดรม
ทราบหรือไม่? คุณแม่ช่วงอายุ 35-49 ปี เสี่ยง!! ตั้งครรภ์ทารกเป็นดาวน์ซินโดรมสูงสุดถึง 1 ใน 10 ของทารกที่เกิดในคุณแม่ที่อยู่ในช่วงอายุนี้ (อ้างอิงข้อมูล : https://www.ndss.org/about-down-syndrome/down-syndrome/ )
ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกับ “ดาวน์ซินโดรม” กันก่อนนะคะ
ดาวน์ซินโดรม (Down syndrome) คือ ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 ที่มีจำนวนเกินมาหนึ่งแท่ง จากปกติจะมีเพียง 2 แท่ง แต่กลายเป็น 3 แท่งแทน ซึ่งคนเราจะมีโครโมโซมจำนวน 23 คู่ หรือ 46 แท่ง แต่ในกรณีที่เป็น ดาวน์ซินโดรม มักเกิดความผิดปกติที่เรียกว่า Trisomy ทำให้จำนวนโครโมโซมทั้งหมดมี 47 แท่ง
“ดาวน์ซินโดรม” เกิดจากการแบ่งตัวของโครโมโซมในเซลล์ไข่ในช่วงการปฏิสนธิมีความผิดปกติ มักเกิดในเซลล์ไข่ของคุณแม่ที่มีอายุมาก เมื่อคุณแม่อายุมากขึ้น อัตราความเสี่ยงที่ทารกจะเป็นดาวน์ซินโดรมก็จะยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย
ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถป้องกัน “ดาวน์ซินโดรม” ได้ ด้วยกระบวนการตรวจคัดกรองโครโมโซมตั้งแต่ก่อนที่จะทำการย้ายตัวอ่อนเข้าสู่โพรงมดลูก (Preimplantation Genetic Testing for Aneuploidy ; PGT-A ) โดยใช้เทคโนโลยี NGS ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน มีความละเอียดและแม่นยำสามารถคัดกรองความผิดปกติได้สูงถึง 98%
=====
ข้อมูลเพิ่มเติม :
หมอภัทรเล่าเรื่อง เทคโนโลยี NGS เพิ่มโอกาสท้อง ลดโอกาสแท้ง ป้องกันเด็กผิดปกติตั้งแต่กำเนิด
NGS นวัตกรรมลดความเสี่ยงของโรคทางพันธุกรรมจากพ่อแม่สู่ลูกที่มีความละเอียดและมีความแม่นยำสูงถึง 98%
สาเหตุ อาการ โรคแทรกซ้อนในทารก และใครบ้างที่เสี่ยงมีลูกเป็นดาวน์ซินโดรม
=====
สำหรับคู่สมรสที่กำลังวางแผนการตั้งครรภ์อยู่ แต่มีความกังวลเกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมที่จะส่งต่อถึงลูกน้อย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และนัดหมายเวลาเข้ามาปรึกษากับทีมแพทย์เฉพาะทางก่อนได้นะคะ
IVF Clinic
ข่าวล่าสุด